คัดสรรและจัดโดย
11th (นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร)
แนวคิดของนิทรรศการ
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2544 ให้ความหมาย “เวลา” ว่า “ชั่วขณะความยาวนานที่มีอยู่ หรือเป็นอยู่ โดยนิยมกําหนดขึ้นเป็นครู่ คราว วัน เดือน ปี เป็นต้น” ดังนั้น “เวลา” จึงเป็นสิ่งสมมติที่จับต้องไม่ได้ แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ไหลผ่านเราและไหลผ่านไปอย่าง ไม่มีวันหวนกลับอยู่ทุกชั่วขณะ มนุษย์พยายามอธิบายเวลาและสร้างกายภาพของเวลาผ่านการ เคลื่อนไหวของเข็มนาฬิกาหรือตัวเลขบอกเวลาที่เพิ่มขึ้น แต่แท้จริงแล้ว “เวลา” ปรากฏให้เห็น อย่างชัดเจนที่สุดผ่านชีวิตทุกชีวิต
การเปลี่ยนแปลงอันเกิดขึ้นจากเวลาย่อมปรากฏให้เห็นเป็นหลักฐานบนพื้นผิวและรูป อันเป็นกายภาพของทุกสิ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือแม้แต่สิ่งที่ไร้ชีวิต และยัง ส่งผลลึกลงไปในแก่นอันหมายถึงจิตวิญญาณที่ไม่อาจเห็นของทุกสิ่ง เวลาจะทําให้กายภาพแปร เปลี่ยนไปในรูปแบบต่างๆ เกิดการเสื่อมสลาย ไม่อาจคงรูปเดิมได้ตลอดไป และแม้ว่าจะพยายาม ทัดทาน แต่การเปลี่ยนแปลงของรูปอย่างไม่มีวันหวนกลับย่อมเกิดขึ้น เช่นเดียวกับการเพิ่มพูน เจริญเติบโต การแปรเปลี่ยนทางกายภาพของชีวิตผ่านวันเวลาคือการปรากฏของกาลเวลาที่เรา สัมผัสได้มากที่สุด การแปรเปลี่ยนนี้เป็นสิ่งที่เราควรยอมรับ เห็นคุณค่าและมองให้เห็นความงามว่า เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เพราะย่อมเกิดขึ้นกับทุกคนและทุกสิ่งไม่ต่างกัน
แนวคิดของนิทรรศการถูกถ่ายทอดผ่านผลงานของศิลปินหญิงสามคน ได้แก่ สนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์ ธนิษฐา นันทาพจน์ และใจทิพย์ ใจดี โดยผลงานวีดิทัศน์ (Video) และ ประติมากรรม (Sculpture) ของ สนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์ แสดงถึงความไม่จีรังยั่งยืนของรูป ผ่านการเสื่อมสลายและละลายจนไม่เหลือเค้าโครงเดิมของประติมากรรมพระปรางค์ ซึ่งเป็น สถาปัตยกรรมอันสําคัญทางศาสนาและมีภาพจําว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่คงทนยาวนานหลายศตวรรษ เช่นเดียวกับสังขารและอัตตาภายในของมนุษย์ที่เราอาจยึดถือว่าเป็นสิ่งที่จริงแท้ ไม่เปลี่ยนแปลง แต่เมื่อเวลาผ่านไป ย่อมผุพังและสลายลงได้เช่นเดียวกัน ส่วนผลงานประติมากรรมของ ธนิษฐา นันทาพจน์ ทําให้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของชีวิต แก้วที่แตกเป็นชิ้นๆ ถูกนํามาชุนเชื่อม ชิ้นส่วนต่างๆ ด้วยความพยายามให้กลับมาเป็นรูปเดิม แต่ย่อมไม่มีวันเหมือนเดิม เนื่องจาก มีร่องรอยของการชุนให้เห็นเป็นส่วนหนึ่ง แสดงถึงกายภาพของชีวิตและตัวตนที่เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมอย่างไม่มีวันหวนกลับ ผลงานวาดเส้น (Drawing) และศิลปะจัดวาง (Installation Art) ของ ใจทิพย์ ใจดี ทําให้เห็นถึง การค่อยๆ เพิ่มพูนของเส้นบนกระดาษและชั้น (Layer) ของศิลปะจัดวาง ผ่านเวลาและประสบการณ์ การเพิ่มพูนเจริญเติบโตทางกายภาพของผลงานย่อมเชื่อมโยงกับ การเติบโตภายในตัวตนของศิลปินเช่นกัน
นิทรรศการนี้จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้ขบคิดและตระหนักถึงกายภาพของชีวิต อีกทั้งยังชวนให้หวนระลึกถึงตัวตนที่เปลี่ยนแปลงไปผ่านกาลเวลา โดยผ่านการชมผลงานศิลปะ ของศิลปินหญิงทั้งสามคนซึ่งล้วนเป็นศิลปะเชิงแนวคิด (Conceptual Art) ที่นําเสนอผ่านสื่อ และวัสดุต่างๆ อย่างน่าสนใจ
“The Presence Of Time” Contemporary Art Exhibition
Curated and Organized by 11th (The Graduate Students of Master’s Degree Program in Art Theory, Faculty of Painting, Sculpture and Graphic Arts, Silpakorn University)
Curatorial Statement
The Royal Institute Dictionary BE 2544 (2001) defined “Time” as “measurable period during which condition exists or continues. It is usually measured in moments, occasions, days, months and years.” Therefore, “time” is an intangible human construct that flows irreversibly through us every moment. Humans try to explain and make time tangible by presenting it as the movement of clock pointers or the increasing numbers. However, “time” makes the most apparent presence through all lives.
The presence of time evidently appears on surface and form which are the physical aspects of everything and this is unavoidable for every living creatures and non-living things. Time also has an impact on the core, the soul that cannot be seen. Time will change the physical aspects into different conditions. One will dissolve and cannot keep one’s form eternally. Although there is an effort to resist but transformation and growth cannot be stopped. The change in physical aspects of life is the most tangible presence of time for us. The change should be accepted and seen as valuable and beautiful as it is an inevitable part of life that happens to everyone and everything.
Three artists share an interest in The Presence of Time. The video and sculpture by Sanitas Pradittasnee show the truth of temporary existence through the decline and dissolution of the form of Phra Prang which is an important religious architecture and a symbol that lasts for centuries. Similarly, body and ego of humans which may be believed as real and unchangeable assets, as time passes, everything will decay and cease. The sculptures of Thanistha Nuntapojn give the reflection on transformation in life. The shattered glass was fixed together by darning as the attempt to recover but it cannot be exactly the same as the darning became a part of it. It is the metaphor of physical aspects of life and identity that irreversibly changed. Lastly, drawings and an installation of Jaitip Jaidee show growth on papers and layers which increases by time and experience. The growth of works strongly connects with the growth of the artist.
This exhibition is an examination of the physical aspects of life, as well as the reflection on identity, which changes over time. Three female artists present their conceptual art pieces in different media and materials allowing us to contemplate life.
Layer of thing / Message to Understanding
Artist: JAITIP JAIDEE
ใจทิพย์เลือกที่จะวาดและเขียนเรื่องราวแม้รู้ว่าเมื่อชีวิตดําเนินต่อไป ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นจะกลายเป็นเพียงความทรงจํา เธอเชื่อว่า เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งที่ชัดเจนจะกลายเป็นไม่ชัดเจน กายภาพจะเปลี่ยนไป แต่เรื่องราวของมันจะยังคงอยู่บนพื้นที่ของกระดาษ และนั่นคือสิ่งที่สะท้อนตัวตนของศิลปิน |
Although, life will continue and pass everything to memory, Jaitip loves to draw and write the story. Over time, what seems to be obvious is not obvious anymore. The physical aspects of it always change but the story of it will always remain on the space of paper. This is a reflection of an artist.
Heal No. 2
Artist: THANISTHA NUNTAPOJN
ธนิษฐานําวิธีการชุนผ้ามาดัดแปลงให้เป็นการเชื่อมประสานร่องรอยแตกร้าวบนภาชนะแก้วหรือเซรามิค เพื่อสื่อถึงการพยายามซ่อมแซมหรือสมานสิ่งที่แตกร้าวให้กลับคืนรูปเดิม ภาชนะที่มีรูปแบบและขนาดที่หลากหลาย เปรียบเสมือนมนุษย์ที่มีลักษณะต่างกัน แต่ล้วนมีความเปราะบาง
Thanistha applied darning as the technique to fix together the cracks on glass and ceramic wares. It is to show her attempt to recover something that has already been damaged. Different types and sizes of container implied that each individual is different but everyone is all fragile.
FORM OF BELIEF V (IMPERMANENCE),
Artist: SANITAS PRADITTASNEE
จากการศึกษาประวัติศาสตร์ของกระดาษและความเป็นมาของการรีไซเคิล นํามาซึ่งการเปรียบเทียบระหว่างวงจรของกระดาษและวงจรของชีวิต จากใยไม้ผสานเป็นกลุ่มก้อน แปรรูปเป็นกระดาษมาใช้งาน จากเศษกระดาษสลายเป็นฝุ่นผง จากดิน น้ำ ลม ไฟ ก่อร่างเป็นชีวิต ดําเนินไปจนสลายเป็นเถ้าธาตุอีกครั้งหนึ่ง วัฏจักรของสรรพสิ่งล้วนดําเนิน ไปตามกฎธรรมชาติ
Sanitas created this sculpture from recycled paper dust and water. Her research on the histories of paper and recycle led her to compare the cycle of paper and the cycle of creation. From dust combines into mass that is then turned into paper until disintegrating back into dust. From earth, water, wind and fire form a life that goes on until disintegrating into ashes.
Comentarios