“ฉาก” ในนิยายภาพไร้ตัวอักษร ของฟรองส์ มาเซอรีล
- svettaporn iresuriyaakesakul
- 27 มิ.ย. 2565
- ยาว 5 นาที
อัปเดตเมื่อ 17 ก.ค. 2565
เศวตราภรณ์ ไอศุริยเอกสกุล นักศึกษาศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (2562): วารสารศิลป์ พีระศรี
อ่านวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม ภาษาภาพในนิยายภาพไร้ตัวอักษร ของ ฟรองส์ มาเซอรีล โดย เศวตราภรณ์ ไอศุริยเอกสกุล

บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งนําเสนอการใช้ “ฉาก” ในนิยายภาพไร้ตัวอักษร (Wordless novel) (1) ของ ฟรองส์ มาเซอรีล (Franz Maserreal ค.ศ.1889 - 1972) ศิลปินและนักออกแบบกราฟิกชาวเบลเยียมที่ทํางานอยู่ในกระแสศิลปะเอ็กซ์เพรสชั่นนิสม์ โดยศึกษา “ฉาก” ในนิยายภาพไร้ตัวอักษรจําานวน 5 เล่ม
เป้าหมายในการศึกษา เพื่อศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบศิลป์และวิธีการสร้าง “ฉาก” ในนิยายภาพไร้ตัวอักษรทั้ง 5 เรื่อง ซึ่งเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับของ ฟรองส์ มาเซอรีล ได้แก่
1. 25 ภาพกิเลสมนุษย์ (Twenty-Five Images of a Man’s Passion,ค.ศ. 1918)
2. การเดินทางอันน่าหลงใหล (Passionate Journey, ค.ศ. 1919)
3. พระอาทิตย์ (The Sun, ค.ศ. 1919)
4. ความคิด (The Idea, ค.ศ. 1920)
5. เมือง (The City, ค.ศ. 1925)
ศึกษาโดยวิเคราะห์องค์ประกอบศิลป์และวิธีการสร้าง ฉาก ในนิยายทั้ง 5 เล่ม โดยจากการศึกษาพบประเด็นดังต่อไปนี้
1. การใช้ฉากหลังเป็นสถานที่เกิดเรื่องราว
2. การใช้ฉากหลังแสดงอารมณ์ภายในของตัวละคร
โดยพบว่า
1) การใช้ฉากหลังเป็นสถานที่เกิดเรื่องราว ศิลปินให้ความสําคัญกับความสมจริงของฉากหลังตามลําดับของการสร้างหนังสือ มีการใช้ฉากหลังเข้ามามีปฎิสัมพันธ์กับตัวละครมากกว่าการทําหน้าที่เป็นเพียงฉากหลังในนิยายภาพไร้ตัวอักษร พบรูปแบบการสร้างฉากลักษณะนี้ ในหนังสือเรื่อง “ความคิด” ซึ่งเป็นนิยายภาพไร้ตัวอักษรที่เล่าเรื่องเชิงเปรียบเทียบมากว่านิยายภาพไร้ตัวอักษรเล่มอื่น ๆ
2) การใช้ฉากหลังสะท้อนอารมณ์ภายในของตัวละคร จากการสังเกตการสร้างฉากหลังที่สะท้อนอารมณ์ภายในของตัวละครของฟรองส์มาเซอรีล นั้นมี 2 ลักษณะ คือ
2.1) การบิดเบือนฉากหลังภายนอกอาคารเพื่อแสดงอารมณ์ภายในของตัวละคร จะมีขอบเขตในการสร้างที่กว้างกว่าคือใช้ได้ทั้งเนื้อเรื่องในส่วนที่ซับซ้อนและต้องใช้จินตนาการมากและเนื้อเรื่องทั่ว ๆ ไป
2.2) การสร้างกราฟิกในฉากหลังภายในอาคารเพื่อแสดงอารมณ์ภายในของตัวละคร จะถูกใช้ในเนื้อเรื่องตรงส่วนที่ไม่ต้องใช้จินตนาการในการอ่านมาก (ใช้ภาพในการอธิบายเนื้อเรื่องตรงส่วนนั้นจํานวนมาก มักใช้การเปลี่ยนผ่านภาพ จาก ภาพสู่ภาพ หรือ โคลสเชอร์ (Closure) (2) แบบช่วงเวลาสู่ช่วงเวลา พบการสร้างฉากหลังภายในอาคารลักษณะนี้ในเนื้อหาส่วนที่ศิลปินต้องการให้ผู้อ่านเข้าใจตรงกัน
บทนํา
คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นผลสืบเนื่องจาก คริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็น “ศตวรรษแห่งอํานาจ” เพราะเป็นช่วงเวลาที่เกิดการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ของวิถีชีวิตของมุนษย์จากความเรียบง่ายไปสู่ความซับซ้อนที่ทันสมัย (3) มีการพัฒนาทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ และเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมและเศรษกิฐของยุโรปไปอย่างมาก จากระบบเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม เส้นทางรถไฟที่ขยายตัวและการคมนาคมขนส่งด้วยรถไฟได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนและนําความเจริญไปสู่ชนบทและหัวเมือง (4) ทั้งยังส่งผลให้เกิดการขยายตัวของเมืองและการหลั่งไหลของผู้คนมายังเมืองใหญ่ ซึ่งใน ค.ศ. 1900 หรือการเริ่มต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 (นับตามกรอบเวลา) มหานครของยุโรปได้ขยายตัวมากขึ้น ซึ่งจากเดิมมีเพียงกรุงปารีส ลอนดอนและเบอร์ลิน ได้เพิ่ม
จํานวนขึ้นอีก 4 แห่ง (5) การพัฒนาอุตสาหกรรมยังทําให้สภาพแวดล้อมของเมืองใหญ่เสียหาย เช่นแม่น้ําสายหลักที่ไหลผ่านเมืองใหญ่เน่าเสีย และมีการเพิ่มขึ้นของประชากรในกรุงปารีส จาก 600,000 คนเป็น 2.5 ล้านคนในปี ค.ศ. 1900 (6) ในปี ค.ศ. 1914 สงครามโลกครั้งที่ 1 ได้เปิดฉากขึ้น เป็นมหาสงครามที่มีการนองเลือดและการสูญเสียเป็นจํานวนมาก ซึ่งสงครามครั้งนี้ส่งผลกระทบถึงนานาประเทศทั่วโลก ความยาวนานของสงครามที่กินเวลากว่า 4 ปี สร้างบาดแผลและความบอบช้ําให้ผู้คน
ผลพวงของการเปลี่ยนผ่านอย่างก้าวกระโดดของวิถีชีวิตจนถึงภายหลังมหาสงครามนี้เอง ที่การเคลื่อนไหวของศิลปะเอ็กซ์เพรสชั่นนิสม์ได้เริ่มต้นขึ้น (ค.ศ. 1905-1920) และรุ่งเรืองอย่างมากโดยเฉพาะในประเทศเยอรมนีและออสเตรีย โดยศิลปะเอ็กซ์เพรสชั่นนิสม์ คือ ศิลปะที่พรรณนาโลกจากภายในจิตใจของศิลปิน
ศิลปินเอ็กซ์เพรสชั่นนิสม์หลายคนมีความขัดแย้งกับชีวิตในเมือง แต่กระนั้นก็ยังตื่นตาตื่นใจไปกับความน่าตื่นเต้นที่ไม่เคยพบเจอในเมืองใหญ่ ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ศิลปินเริ่มเห็นผลกระทบที่น่าสะพรึงกลัวของสงครามกับจิตวิญญาณโดยรวมของพวกเขาและต่อเศรษฐกิจของประเทศและประชาชน (7) ซึ่งผลกระทบจากสงครามส่งผลให้ศิลปินมุ่งเน้นการจับสภาพจิตใจของตนเองโดยใช้การบิดเบือนสีจนไม่สมจริง และการบิดเบือนมุมมองภาพหรือองค์ประกอบเพื่อช่วยในการบรรลุเป้าหมายที่ศิลปินต้องการนําเสนอ (8) นอกจากการสร้างงานจิตรกรรมโดยใช้สีน้ํามันและการสร้างงานประติมากรรมแล้ว ศิลปินในกระแสศิลปะนี้ยังนิยมทําภาพพิมพ์ (Printmaking) เป็นสื่อที่สําคัญในการแสดงออกของพวกเขา ภาพพิมพ์ในที่นี้หมายรวมถึงภาพพิมพ์แกะไม้ (Woodcut) ภาพพิมพ์ร่องลึก (Intaglio) ภาพพิมพ์หิน (Litho graphy) ซึ่งการทําภาพพิมพ์นั้นช่วยให้ศิลปิน
เอ็กซ์เพรสชั่นนิสม์บรรลุถึงเป้าหมายของพวกเขาได้มากขึ้น ทั้งยังสามารถเผยแพร่แนวความคิดออกไปได้ในวงกว้างและยังเป็นสื่อที่ใช้วิพากษ์วิจารณ์ถึงสาเหตุทางสังคมและการเมือง (9)
ศิลปินและนักออกแบบในกระแสศิลปะนี้ค้นพบแรงบันดาลใจในการแสดงความรู้สึกอึดอัด ปวดร้าวจากประสบการณ์ของตนเอง ผ่านภาพพิมพ์โดยได้รับแรงบันดาลใจจากภาพพิมพ์ที่เกี่ยวกับพระคัมภีร์ไบเบิลในสมัยกลางเช่นหนังสือชื่อ บิเบลีย เพาเพรุม (Biblia Pauperum) (10) และมีการใช้เทคนิคภาพพิมพ์ทําหนังสือรวมผลงานขนาดสั้น ส่วนมากมีขนาดไม่เกิน 40 หน้า เนื้อหาของหนังสือส่วนใหญ่เกี่ยวกับสภาวะทางสังคมที่ไม่ปกติ เช่น การประท้วง, ชีวิตในเมืองใหญ่ที่มีตึกสูงรูปทรงคุกคาม, สถานเริงรมย์หลายประเภทรวมถึงซ่องโสเภณี ฯลฯ ซึ่งไม่ได้ชัดเจนว่าหนังสือเหล่านี้ต้องอ่านในรูปแบบของเรื่องที่ต่อเนื่องกัน (11)
ฟรองส์ มาเซอรีล นักออกแบบกราฟิกชาวเบลเยียม เป็นผู้บุกเบิกนิยายภาพไร้ตัวอักษรขึ้นและถูกยกย่องให้เป็น “บิดาของนิยายในภาพเขียน” (12) แม้ว่าการรวมภาพวาดเข้ากับเรื่องเล่าจะไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ แต่การใช้ภาพสื่อสารเรื่องราวโดยไม่มีคําบรรยายและเป็นลักษณะที่ต่อเนื่องกันแบบนิยายนั้นเป็นสิ่งที่แตกต่างจากงานในยุคก่อน
ฟรองส์ มาเซอรีล มีชีวิตวัยเด็กที่มั่งคั่งกับแม่และพ่อบุญธรรมที่เป็นต้นแบบของความคิดในการเรียกร้องความยุติธรรมทางสังคม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่ออายุได้ 22 ปี มาเซอรีลทํางานเป็นนักเขียนการ์ตูนต่อต้านสงครามลงในหนังสือพิมพ์ ลา เฟย (La Feuille) เมืองเจนิวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นงานที่ต้องทําอย่างเร่งด่วน เพราะเป็นหนังสือพิมพ์รายวัน เขามีเวลาไม่นานที่จะอ่านเนื้อหา พัฒนาประเด็น ที่จะเล่าและสร้างภาพออกมาโดยเขาได้ใช้เทคนิคที่เรียกว่า พู่กันและหมึก ซึ่งเหมาะกับการทําภาพประกอบให้กับหนังสือพิมพ์ ต่อมาเทคนิคนี้ได้ถูกพัฒนากลายมาเป็นลายเส้นที่เป็นเอกลักษณ์ของเขาในการทํานิยายภาพไร้ตัวอักษร นิยายภาพไร้ตัวอักษรของ ฟรองส์ มาเซอรีลได้รับการยอมรับและตีพิมพ์หลายเรื่อง โดย 5 เรื่องที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเรื่องที่ประสบความสําเร็จและมีชื่อเสียงมากที่สุด
บทความนี้จะทําการศึกษาวิธีการนําเสนอฉากหลังในนิยายภาพไร้ตัวอักษรทั้ง 5 เล่ม
ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า ฟรองส์ มาเซอรีล นั้นร่วมสมัยอยู่ในยุคที่โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทั้งเศรษฐกิจและสังคมเมือง รวมถึงยังเกิดเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่นั่นคือสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยเนื้อเรื่องทั้งหมดของหนังสือ 5 เล่มที่ประสบความสําาเร็จและมีชื่อเสียงของเขาล้วนเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของเมืองที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนทั้งสิ้น มีเรื่องย่อดังนี้
1. 25 ภาพกิเลสมนุษย์ (Twenty-Five Images of a Man’s Passion, 1918) มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับชายหนุ่มที่ถูกฆ่า หลังจากเป็นแกนนําในการประท้วงความอยุติธรรมทางสังคม (13)
2. การเดินทางอันน่าหลงใหล (Passionate Journey, 1919) เป็นภาพเล่าเรื่องกึ่งอัตชีวประวัติของมาเซอรีลอย่างชัดเจน ทั้งยังแสดงถึงความสุข ความเศร้าโศก ความพึงพอใจ ความเบื่อหน่ายและความโกรธ ของผู้ชายธรรมดาที่เข้ามายังเมืองใหญ่ (14) หนังสือให้ความสําคัญกับความเจ็บป่วยของสังคมที่เพิ่มขึ้นพร้อมกับการเติบโตทางอุตสาหกรรมและวัฒนธรรมการค้าที่มองข้ามหลักการพื้นฐานของความเมตตาของมนุษย์
3. พระอาทิตย์ (TheSun, 1919) เล่าเรื่องผู้ชายที่พยายามจะคว้าพระอาทิตย์ โดยมาเซอรีลดึงเอาโครงของตํานาน อิคารัส (Icarus) (15) ตามท้องเรื่องอิคารัสเสียชีวิตจากความพยายามเข้าใกล้พระอาทิตย์มากเกินไปจนทําให้ขี้ผึ้งที่ปีกของเขาละลายจนเขาร่วงลงมาจากท้องฟ้าและจมหายไปในมหาสมุทร มาเซอเรียลเปรียบเทียบการพยายามจะเอื้อมมือจับพระอาทิตย์กับการทําตามสังคมอุสาหกรรมที่เบี่ยงเบนเป้าหมายในชีวิตของผู้ชายวัยหนุ่ม
4. ความคิด (The Idea, 1920) เป็นเรื่องเกี่ยวศิลปินที่สร้างรูปทรงของความคิดออกมาในรูปของหญิงเปลือย และส่งเธอเข้าไปในเมืองที่ซึ่งเธอถูกข่มเหงและไม่มีใครเข้าใจ ก่อนที่เธอจะกลับมาหาเขาและพบว่าศิลปินได้สร้างความคิดใหม่ ๆ ออกมาแทนที่เธอ (16) โดย หนังสือเรื่อง “ความคิด” เป็นนิยายเชิงเปรียบเทียบถึงทัศนคติความกลัวที่มหาชนมีต่อแนวความคิดใหม่ ๆ
5. เมือง (The City, 1925) ถูกยกย่องว่าเป็นผลงานที่ดีที่สุด (17) ของมาเซอรีล โดยเรื่อง "เมือง” นี้ได้หลุดออกจากข้อจํากัดของการเล่าเรื่อง โดยทั้งเรื่องไม่มีตัวละครหลักแต่อาศัยการเล่าเรื่องโดยให้ความสําคัญกับประสบการณ์ของเมือง แสดงกายภาพของเมืองและอารมณ์ของแต่ละบุคคล ทั้งสุข ทุกข์ เหนื่อยล้า ความรุนแรง หรือความตื่นเต้นในมหานคร โดยมาเซอรีลได้ตรวจสอบทุกซอกมุมที่สามารถทําได้เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของเมือง ที่บอกเล่าความเป็นจริงของทุกชีวิตตั้งแต่คนรวยจนถึงขอทาน
โดยจากการศึกษาพบว่า ฟรองส์ มาเซอรีล ใช้ฉากหลังในการเล่าเรื่องสองกรณี คือ
1. การใช้ฉากหลังเป็นสถานที่เกิดเรื่องราว
2. การใช้ฉากหลังสะท้อนอารมณ์ภายในของตัวละคร
1. การใช้ฉากหลังเป็นสถานที่เกิดเรื่องราว
1.1 การสร้างฉากหลังพื้นที่ภายนอกอาคารของ ฟรองส์ มาเซอรีล

a. การสร้างฉากหลังพื้นที่ภายนอกอาคารของมาเซอรีลโดยรวมทั้ง 5 เรื่องมีการเปลี่ยนแปลงภาพตามลําดับ กล่าวคือมีความพิถีพิถัน การสร้างความซับซ้อนและคํานึงถึงหลักทัศนียภาพตามหลักวิชาการมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามลําดับเวลาของการสร้างผลงาน โดยในเรื่อง “25 ภาพของกิเลสมนุษย์” นั้นใช้ฉากหลังเป็นภาพประกอบฉากโดยให้ความสําคัญกับองค์ประกอบในฉากหลังน้อยมาก กล่าวคือ มีความแบน ความพร่ามัวและในบางครั้งมีการปล่อยให้ฉากหลังค่อย ๆ หายไปกับบรรยากาศ (ภาพที่ 1)


b. “การเดินทางอันน่าหลงใหล” มีการนําเสนอมุมมองของเมืองมากขึ้น ซึ่งเป็นเพราะเป็นนิยายภาพไร้ตัวอักษรขนาดยาวและเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเดินทางไปทั่วทุกมุมโลก ฉากหลังภายนอกอาคารจึงมีความสําคัญมากขึ้น มีทั้งฉากที่สะท้อนให้เห็นสังคมเมืองใหญ่ การขยายตัว การก่อสร้างเครื่องจักร สถานบันเทิง ท้องถนน ผู้คน ธรรมชาติและสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่ศิลปินได้ไปพบเจอ แต่กระนั้นภาพฉากที่เป็นภาพเมืองไม่ได้ถูกสร้างให้ซับซ้อนมากนัก ไม่ค่อยมีฉากเมืองในมุมกว้างโดยส่วนมากจะเป็นฉากที่ถูกตัด เช่นฉากตัวละครหลักบนถนน (ภาพที่ 2) แต่จะสร้างฉากหลังในมุมกว้างเมื่อเล่าถึงธรรมชาติ (ภาพที่ 3)


โดยในเรื่องนี้มีภาพฉากเมืองภายนอกที่หยิบขึ้นมา วิเคราะห์ 1 ภาพ (ภาพที่ 4) ฉากเมืองในภาพนี้มีความน่าสนใจ เพราะนอกจากจะเป็นภาพที่เล่าถึงความเป็นไปของเหตุการณ์ยังเป็นภาพที่ศิลปินบิดเบือนบรรยากาศเพื่อสะท้อนอารมณ์ของตัวละครแก่ผู้อ่านด้วย โดยในภาพนี้ใช้น้ําหนักขาวในการสร้างแสงจากไฟถนนที่กระจายกินเข้าไปยังอาคารบ้านเรือน ซึ่งมีความคล้ายกับภาพ “ไฟถนน” (Street Lantern ค.ศ.1918) (ภาพที่ 5) ของไลโอเนล ไฟนิงเกอร์ (Lyonel Feininger ค.ศ.1871 - 1956) จิตรกรชาวอเมริกันเชื้อสายเยอรมัน ผู้อยู่ในกระแสศิลปะเอ็กซ์เพรสชั่นนิสม์ โดยฉากเมืองแสงไฟยามค่ําคืนนี้เป็นภาพที่สะท้อนความเป็นไปของสังคมเมืองใหญ่

c. หนังสือเรื่อง “พระอาทิตย์” จะเห็นรายละเอียดปลีกย่อยของฉากเมืองมากยิ่งขึ้น ภาพฉากหลังส่วนใหญ่ของเล่มเป็นภาพฉากหลังในมุมกว้าง มีฉากเมืองในมุมแปลกตาเช่น ฉากบนหลังคา (ภาพที่ 6)
d. หนังสือเรื่อง “ความคิด” จะเห็นการสร้างฉากหลังที่แปลกตามากขึ้นอีก คือ เป็นฉากหลังที่ตัวละครหลักมีปฎิสัมพันธ์ด้วย โดยภาพในเรื่อง “ความคิด” นี้จะมีการจัดองค์ประกอบภาพและสัดส่วนของตัวละครและฉากหลังที่แปลกไปกว่าทุกเล่ม ไม่ยึดหลักความเป็นจริงมากนักเพราะมาเซอรีลสร้างตัวละครให้ใหญ่เท่าฉากหลังและเหมือนกับว่าฉากเข้ามามีบทบาทกับตัวละครมากกว่าฉากหลังในเล่มอื่น ๆ


โดยในเรื่องนี้มีภาพฉากเมืองที่หยิบขึ้นมา วิเคราะห์ 2 ภาพ (ภาพที่ 7 และ ภาพที่ 8) โดย (ภาพที่ 7) พยายามที่จะเล่าเรื่องราวชีวิตของคนเมืองที่อาศัยกันอยู่อย่างแออัดและเบียดเสียด โดยแสดงภาพชีวิตคนผ่านหน้าต่างให้เห็นความเป็นไปโดยฉากหลังที่เป็นภาพหน้าต่างนี้มีขนาดใหญ่โดยไม่คํานึงถึงหลักความเป็นจริง เช่นเดียวกับภาพของ กีออร์ก กรอสซ์ (Georg Grosz ค.ศ.1893-1959 ) (ภาพที่ 9)
ที่ขยายขนาดหน้าต่างเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการสื่อสารวิถีชีวิตความเป็นอยู่และสภาพสังคม


(ภาพที่ 8) เป็นภาพฉากเมืองที่ถูกบิดเบือนเพื่อแสดงอารมณ์ของตัวละครเช่นเดียวกับ (ภาพที่ 4)
แต่ในภาพนี้ตัวละครและฉากเหมือนถูกหลอมรวมเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันมากกว่า เมื่อขนาดองค์ประกอบของตัวละครถูกขยายให้ใหญ่เท่าอาคารบ้านเรือนและท่าทางของตัวละครที่กําลังวิ่งนั้น
ส่งเสริมกันกับภาพอาคารที่เอนตามตัวละครผู้หญิงที่กําลังวิ่งด้วยความเร็ว ภาพ “อุทิศให้แก่ ออสการ์ พานิซซา” (Dedicated to Oskar Panizza ค.ศ. 1917-1918) ของ กีออร์ก กรอสซ์ (ภาพที่ 10) ให้ความรู้สึกแบบเดียวกันกับภาพนี้ คือ สถาปัตยกรรมให้ความรู้สึกบีบคั้น ทางทอดยาวและความโอนเอนของอาคารบ้านเรือนที่สร้างความรู้สึกก้าวร้าวและไม่มั่นคง ดังเช่นประโยคที่ กีออร์ก กรอสซ์ กล่าวไว้ว่า “มนุษย์วิกลจริตไปแล้ว” ซึ่งการสร้างฉากในนิยายภาพไร้ตัวอักษรเรื่องนี้สร้างความประทับใจในการอ่านเป็นอย่างยิ่ง
e. หนังสือเรื่อง “เมือง” ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผลงานที่ดีที่สุดของ ฟรองส์ มาเซอรีล กลับนําเสนอสิ่งที่แตกต่างจาก หนังสือเรื่อง “ความคิด” โดยสิ้นเชิง โดยฉากหลังภายนอกอาคารของนิยายภาพไร้ตัวอักษรเรื่อง “เมือง” นั้นให้ความสําคัญกับทัศนียภาพตามหลักวิชาการมาก คํานึงถึงหลักความเป็นจริงและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของเส้น ให้ความสําาคัญกับรายละเอียดปลีกย่อยเล็ก ๆ น้อย ๆ มากกว่า
การดําเนินเรื่อง ซึ่งเป็นไปตามทิศทางของการนําเสนอของนิยายภาพไร้ตัวอักษรเรื่องนี้ ที่ไม่มี
ตัวละครหลัก เมือง ในภาพสวยงามวิจิตร ศิลปินนําเสนอเมืองใหญ่ในมุมต่าง ๆ ทั้งชีวิตคนรวยถึงคนยากไร้ ความเป็นไปของผู้คนในเมืองใหญ่ตั้งแต่เช้าจรดค่ํา ความเศร้า ความสุข ความรุนแรง โดยใช้ความรู้สึกที่เป็นกลางในการนําเสนอมากกว่าพยายามสร้างอารมณ์ใด ๆ เข้าไปเพิ่มเติม
1.2 การสร้างฉากหลังพื้นที่ภายในอาคารของ ฟรองส์ มาเซอรีล

f. ฉากหลังพื้นที่ภายในอาคารของนิยายภาพไร้ตัวอักษรทั้ง 5 เล่มจะเห็นความแตกต่างขององค์ประกอบได้ชัดเจนกว่าฉากหลังพื้นที่ภายนอก เนื่องจากจะเห็นการคํานึงถึงหลักทัศนียภาพตามความเป็นจริงมากขึ้นเรื่อย ๆ และรวมถึงการใส่ใจในรายละเอียดปลีกย่อยมากขึ้นในทุก ๆ เล่ม โดยเรื่อง “25 ภาพของกิเลสมนุษย์” นั้นไม่ค่อยให้ความสําคัญกับความลึกของฉากภายใน คือ ไม่มีเส้นพื้นหรือมุมห้องจะใช้เพียงเครื่องใช้ภายในบ้านในการสร้างความลึกให้กับฉากหลัง (ภาพที่ 11) ฉากภายในไม่ค่อยมีรายละเอียด

g. หนังสือ “การเดินทางอันน่าหลงใหล” (ภาพที่ 12) จะเห็นรายละเอียดที่เพิ่มขึ้นของฉากหลังพื้นที่ภายในอาคาร แต่ยังคงไม่เห็นความลึกหรือมุมห้อง ฉากหลังภายในอาคารส่วนใหญ่เป็นฉากที่ถูกตัดให้เห็นการกระทําของตัวละครที่ชัดเจนโดยมีฉากหลังภายในอาคารทําหน้าที่เล่าเรื่องประกอบ มากกว่าการมุ่งให้เห็นความซับซ้อนของพื้นที่ แต่การวาดฉากหลังภายในอาคารของฟรองส์
มาเซอรีลเริ่มมีความซับซ้อนมากขึ้นเมื่อเขาวาดนิยายภาพไร้ตัวอักษรเรื่อง “พระอาทิตย์”

h. นิยายภาพไร้ตัวอักษรเรื่อง “พระอาทิตย์” จะเห็นการให้ความสําคัญกับความลึกและความซับซ้อนของพื้นที่ของฉากหลังภายในอาคารมากขึ้น มีเส้นที่แสดงให้เห็นมุมห้องเพดานและความลึกแทบจะ
ทุกภาพ นอกจากนั้นยังมีภาพวาดพื้นที่ ที่เห็นรอยต่อของห้องสองห้องที่มีความซับซ้อนกว่าภาพฉากหลังภายในอาคารทั้งหมดของเรื่องที่เขาเขียนมาก่อนหน้า (ภาพที่ 13)


i. หนังสือเรือง “ความคิด” มีการออกแบบฉากหลังภายในอาคารที่ต่างออกไป คือ
I. ฉากหลังภายในอาคารกลับไปแบนและไม่ซับซ้อนเช่นเดิม แต่ยังคงมีรายละเอียด ไม่ปรากฎเส้นมุมห้องหรือเพดานแต่มีความผันผวนของขนาดตัวละครและฉากมาก เช่นบางฉากองค์ประกอบของพื้นที่ภายในนั้นถูกสร้างให้ใหญ่กว่าความเป็นจริง ดังเช่นภาพหนังสือที่เป็นฉากหลังของภาพ (ภาพที่ 14) ซึ่งความผันผวนของฉากพื้นที่ของหนังสือเล่มนี้มีทั้งฉากหลังพื้นที่ภายนอกและภายใน
II. การไม่วาดฉากหลังของพื้นที่ภายในอาคาร โดยจะวาดเพียงแค่ระยะหน้าของภาพเพื่อให้เห็นว่าเป็นสถานที่ใด (ภาพที่ 15) ในที่นี้เป็นฉากในห้องทํางานและแทนค่าพื้นหลังด้วยเส้นและพื้นที่ว่างเพื่อสะท้อนอารมณ์ภายในของตัวละคร


j. หนังสือเรื่อง “เมือง” ศิลปินกลับมาสร้างฉากหลังภายในอาคารที่มีความละเอียดและซับซ้อนอีกครั้งและในครั้งนี้เป็นผลงานที่ซับซ้อนและคํานึงถึงหลักความเป็นจริงอย่างมาก ภาพฉากมีความนิ่งและใช้ลายเส้นที่สวยงาม
โดยในเรื่องนี้มีภาพฉากหลังภายในอาคารที่หยิบขึ้นมาวิเคราะห์ 2 ภาพ (ภาพที่ 16) เป็นภาพภายในอาคารในงานรื่นเริงมีกลุ่มคนมากมาย ภายในภาพและฉากอาคารภายในที่หรูหราอันเต็มไปด้วยรายละเอียดปลีกย่อยของประตูและพื้น ภาพฉากหลังเป็นภาพที่มองเข้าไปยังมุมแทยงเห็นมุมห้องเพนดานและโคมไฟสองดวงที่กําแพงเป็นกระจกที่สะท้อนภาพของตัวละครที่กําลังทํากิริยาต่าง ๆ ซึ่งกระจกเข้ามามีส่วนทําาให้ภาพมีมิติลึกและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับภาพ (ภาพที่ 17) ของกีออร์ก กรอสซ์ ภาพ “เพลงยิปซี” (Gypsy Music ค.ศ. 1921) ชายกลางคนนั่งทานอาหารพร้อมทั้งฟังนักดนตรีเล่นไวโอลิน โดยมีเงาของนักดนตรีในกระจกสะท้อนให้เห็นภาพอีกด้านของนักดนตรีที่กําลังบรรเลงเพลง เช่นเดียวกับภาพนักเต้นจากหนังสือเรื่อง “เมือง” (ภาพที่ 18) ภาพบรรยากาศในร้านอาหารที่มีการเต้นรําก็ใช้กระจกเงาสร้างมิติและความกํากวมให้ภาพน่าสนใจและสวยงามมากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับภาพ “นักเต้นในกระจก” (Dancer in the Mirror ค.ศ. 1923) ของ มักซ์ เพชชไตน์ (Max Pechstein ค.ศ. 1881 - 1955) (ภาพที่ 19) ที่ความน่าสนใจของภาพนักเต้นด้วยฉากหลังที่สะท้อนมุมมองอีกมุมของตัวละคร ซึ่งการใช้กระจกเข้ามาสร้างความซับซ้อนให้พื้นที่นั้นเป็นความพิเศษอีกอย่างของหนังสือเรื่องนี้


2. การใช้ฉากหลังสะท้อนอารมณ์ภายในของตัวละคร
การใช้ฉากหลังสะท้อนอารมณ์ภายในของตัวละครของ ฟรองส์ มาเซอรีล มีอยู่จํานวนไม่มาก โดยพบเพียง 3 เล่มจากจํานวน 5 เล่มที่นํามาศึกษาและในแต่ละเล่มมีเพียงไม่กี่ภาพที่ศิลปินหยิบเอาเทคนิคนี้ขึ้นมาใช้ โดยการใช้ฉากหลังสะท้อนอารมณ์ภายในของตัวละครนั้น เป็นอิทธิพลโดยตรงของกระแสศิลปะเอ็กซ์เพรสชั่นนิสม์ คือการสร้างสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เช่น อารมณ์ ให้ถูกมองเห็น ซึ่งหลักวิธีการนี้ไม่ได้เริ่มต้นจากความพยายามทางวิทยาศาสตร์ เช่น กระแสศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์ในยุค
ก่อนหน้า แต่เป็นการพรรณนาความรู้สึกภายในจิตใจที่ไม่อาจเก็บกักไว้ได้อย่างตรงไปตรงมาของศิลปะเอ็กซ์เพรสชั่นนิสม์ ซึ่งต่อมาเทคนิควิธีการแบบนี้ได้ถูกหยิบนําไปใช้ในงานเขียนการ์ตูนและยังคงถูกพัฒนาและใช้ต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ตามที่ สก็อตต์ แมคคลาวด์ (Scott McCloud ค.ศ. 1960-ปัจจุบัน) ผู้เขียนหนังสือ Under-standing Comics: The Invisible Art ได้กล่าวไว้ ว่าการใช้ฉากหลังที่บิดเบือนจะทําให้ผู้อ่านเชื่อมโยงอารมณ์เหล่านั้นเข้ากับคาแร็คเตอร์ของตัวละครที่ตัวเองรู้สึกร่วม ซึ่งลักษณะการใช้งานฉากประเภทนี้เหมาะกับการพูดถึงสภาวะจิตใจ (18) ซึ่งตรงกับลักษณะการใช้งานของ ฟรองส์ มาเซอรีส ซึ่งพบการวาดฉากในลักษณะนี้ในนิยายภาพไร้ตัวอักษรจํานวน 3 เล่มได้แก่

1. การเดินทางอันน่าหลงใหล 2. พระอาทิตย์ 3. ความคิด พบว่าสัดส่วนในการบิดเบือนฉากหลังนั้นมีไม่มาก เช่น “การเดินทางอันน่าหลงใหล” ที่หน้า 72 (ภาพที่ 4) ในภาพนี้ ฉากเมืองช่วยเสริมท่าทางของชายเมาที่รู้สึกผิดหวัง ด้วยการบิดเบือนไฟและอาคารบ้านเรือนให้บิดเบียว หรือจากเรื่อง “พระอาทิตย์” ที่หน้า 13 ฉากส่งเสริมการแสดงอารมณ์ที่ลิงโลดดีใจของตัวละคร (ภาพที่ 20) ซึ่งทั้งสองภาพเป็นการบิดเบือนฉากหลังภายนอกอาคารทั้งสิ้น

ทั้งยังพบหนังสือที่ไม่มีการเขียนฉากประเภทนี้คือหนังสือเรื่อง “เมือง” ที่ไม่ได้เล่าเรื่องผ่านตัวละครหลัก โดยเรื่อง “เมือง” เป็นนิยายขนาดยาวมีจํานวน 100 ภาพแต่ไม่มีการใช้เทคนิคการวาดฉากแบบบิดเบือนเลย เนื่องจากไม่มีตัวละครหลักในการดําเนินเรื่องเพราะเป็นเรื่องที่เล่าเรื่องผ่านเมืองในมุม
ต่าง ๆ และเนื่องจากการไม่ได้มีตัวละครหลักนี้เอง จึงทําให้ไม่สามารถบิดเบือนฉากหลังเพื่อสะท้อนภาวะภายในของตัวละครได้ เพราะผู้อ่านไม่ได้ถูกปูให้รู้สึกร่วมกับตัวละคร และหนังสือเรื่อง “25 ภาพกิเลสมนุษย์” แม้ว่าจะเป็นนิยายภาพไร้ตัวอักษรที่มีตัวละครหลักในการดําเนินเรื่องแต่ไม่พบการวาดที่บิดเบือนฉากหลังจึงทําให้สันนิษฐานว่า เป็นเพราะเป็นเรื่องขนาดสั้นและมีจํานวนความยาวไม่มากพอที่จะปูให้ผู้อ่านมีอารมณ์ร่วมไปกับตัวละครหลัก

นอกจากนั้นยังมีข้อสังเกตว่า จากการศึกษาไม่พบการบิดเบือนฉากหลังภายในอาคารเพื่อแสดงอารมณ์ของตัวละคร แต่พบว่าศิลปินได้สร้างบรรยากาศของการแสดงอารมณ์ จากพื้นที่ว่างของฉากหลังภายในอาคารขึ้นมาเพื่อสื่อสารอารมณ์ของตัวละครและผู้อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ลักษณะของเส้นและที่ว่างในการสื่อสารอารมณ์ของตัวละคร เป็นการสร้างภาพบรรยากาศที่มองไม่เห็นแต่มีอยู่ขึ้นมาเป็นรูปธรรม (ภาพที่ 21)
นอกจากนั้นยังพบว่าการสร้างบรรยากาศที่ไม่เห็นด้วยตาเปล่าด้วยเส้นกราฟิกเพื่อสื่อสารอารมณ์จะทําขึ้นในกรณีที่การเปลี่ยนภาพ จากภาพสู่ภาพ หรือ โคลสเซอร์ (Closure) เป็นแบบช่วงเวลาสู่ช่วงเวลา (Moment to Moment) (19) กล่าวคือไม่ได้มีความซับซ้อนของการเปลี่ยนผ่านที่ต้องการจินตนาการของผู้อ่านมากเพราะใช้การเล่าแบบช่วงเวลาสู่ช่วงเวลาซึ่งใช้โคลสเซอร์น้อยมาก (จํานวนภาพมาก) และพบว่าการบิดเบือนฉากหลังภายนอกอาคารนั้น มักใช้การเปลี่ยนผ่านแบบ ฉากสู่ฉาก (Scene to Scene) (20) และแอ็คชั่นสู่แอ็คชั่น (Action to Action) (21) ตามลําดับ คือ มีความซับซ้อนในการใช้จินตนาการของผู้อ่านต่อองค์ประกอบของภาพ (จํานวนภาพน้อย ปล่อยให้ผู้อ่านได้ใช้จินตนาการในการคิดเยอะ) มากกว่าการเปลี่ยนผ่านแบบ ช่วงเวลาสู่ช่วงเวลา และพบว่าในหนังสือเรื่อง “เรื่องเล่าไร้คําบรรยาย” ใช้การบิดเบือนฉากหลังภายนอกอาคารกับการเปลี่ยนผ่านองค์ประกอบภาพ จากภาพสู่ภาพแบบ ช่วงเวลาสู่ช่วงเวลา
สรุป
1. การใช้ฉากหลังเป็นสถานที่เกิดเรื่องราว ศิลปินให้ความสําคัญกับความสมจริงของฉากหลังตามลําดับในการสร้างหนังสือและมีการใช้ฉากหลังเข้ามามีปฎิสัมพันธ์กับตัวละครมากกว่าการทําหน้าที่เป็นเพียงฉากหลัง
ในหนังสือเรื่อง “ความคิด” ซึ่งเป็นหนังสือภาพที่เล่าเรื่องเชิงเปรียบเทียบมากว่าหนังสือภาพไร้คําาบรรยายเล่มอื่น
2. การใช้ฉากหลังสะท้อนอารมณ์ภายในของตัวละคร จากการสังเกตการสร้างฉากที่แสดงอารมณ์ภายในของตัวละคร ของ ฟรองส์ มาเซอรีล นั้นคือ
1) การบิดเบือนฉากหลังภายนอกอาคารเพื่อแสดงอารมณ์ภายในของตัวละคร จะมีขอบเขตในการสร้างฉากหลังที่กว้างกว่าและใช้ได้ทั้งเนื้อเรื่องตรงส่วนที่ซับซ้อน และต้องใช้จินตนาการมากและเนื้อเรื่องทั่ว ๆ ไป
2) การสร้างกราฟิกในฉากหลังภายในอาคารเพื่อสะท้อนอารมณ์ภายในของตัวละคร จะใช้ในเนื้อเรื่องตรงส่วนที่ไม่ต้องใช้จินตนาการในการอ่านมาก (จํานวนภาพในการอธิบายเนื้อเรื่องในส่วนนั้นมาก มักใช้การเปลี่ยนผ่านภาพ จาก ภาพสู่ภาพ แบบช่วงเวลาสู่ช่วงเวลา) พบการสร้างฉากหลังภายในอาคารลักษณะนี้ในเนื้อหาส่วนที่ศิลปินต้องการให้ผู้อ่านเข้าใจตรงกัน
เชิงอรรถ
(1) นิยายภาพไร้ตัวอักษร มีการกล่าวถึงในหลายชื่อทั้งนิยายภาพไร้ตัวอักษร (wordless novel) นิยายในภาพเขียน (novel in picture) และ นิยายแม่พิมพ์ไม้ (Novel In Wood-cuts) แต่ในบทความชิ้นนี้จะขอเรียกกว่านิยายภาพไร้ตัวอักษรเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและเพื่อให้เข้าใจตรงกันในลักษณะที่แท้จริงของรูปแบบของนิยายชนิดนี้
(2) ปรากฏการณ์ของการเห็นบางส่วนแต่รับรู้ทั้งหมด หรือการเชื่อมโยงของภาพแต่ละภาพ อ้างถึงใน, สก๊อต แมคคลาวด์, Understanding Comics: The Invisible Art, แปลโดย ชัยยศ อิษฎ์วรพันธุ์, เมธาวี กิตติอาภรณ์พล (กรุงเทพฯ:คอร์เปอเรชั่นโฟร์ดี, 2559), 63
(3) สัญชัย สุวังบุตร และ อนันต์ชัย เลาหะพันธุ,ยุโรป ค.ศ. 1815-1918 (EUROPE 1815-1918) (กรุงเทพฯ:ศักดิโสภาการพิมพ์ 2558), 1.
(4) เรื่องเดียวกัน, 2.
(5) เรื่องเดียวกัน, 5.
(6) เรื่องเดียวกัน
(7) MOMA learning, Expressionism, เข้าถึงเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2560 เข้าถึงได้จาก https://www.moma.org/learn/moma_learning/themes/expressionism
(8) เรื่องเดียวกัน
(9) MOMA GERMAN Expressionism, Printmaking Techniques, เข้าถึงเมื่อ 3 กันยายน 2561 เข้าถึงได้จาก https://www.moma.org/s/ge/curated_ge/techniques/index.htmll
(10) Willett, Perry, "The Cutting Edge of German Expressionism: The Woodcut Novel of Frans Masereel and Its Influences. " In A Companion to the Literature of German Expressionism, ed. Donahue Neil H. (Boydell and Brewer, 2005), 126
(11) David A. Berona, “The Art of the Woodcut Novel.” Ijoca (Spring 2012): 60
(12) David A. Berona, “Wordless Novel in woodcuts” Print Quarterly (March 2003): 6
(13) David A. Berona, “Chronicles in Black and White: The Woodcut Novels of Ma-sereel and Ward” Biblio, no.2: 39
(14) Perry Willett, "The Cutting Edge of German Expressionism: The Woodcut Novel of Frans Masereel and Its Influences. " In A Companion to the Literature of German Expressionism, ed. Donahue Neil H. (Boydell and Brewer, 2005), 112.
(15) Frans Masereel, The Sun The Idea & Story Without Words: Three Graphic Novels [Kindle] (Dover Publications, 2009).
(16) David A. Berona, “Chronicles in Black and White: The Woodcut Novels of Ma-sereel and Ward” Biblio, no.2: 39
(17) Willett, "The Cutting Edge of German Expressionism: The Woodcut Novel of Frans Masereel and Its Influences. " In A Companion to the Literature of German Expressionism, 119.
(18) สก๊อต แมคคลาวด์, Understanding Comics: The Invisible Art, แปลโดย ชัยยศ อิษฎ์วรพันธ และเมธาวี กิตติอาภรณ์พล (กรุงเทพฯ:คอร์เปอเรชั่นโฟร์ดี, 2559),
(19) การเปลี่ยนช่องที่ตัวละครตัวเดิมปรากฏในช่องสู่ช่อง แสดงการกระทําา (action) ที่ต่อเนื่องกันอยู่ ซึ่งการเปลี่ยนจากช่องสู่ช่องแบบนี้ต้องการโคสเซอร์น้อยมาก, อ้างถึงใน, Mediaw-iki. Closure in comics. เข้าถึงเมื่อ 9 มิถุนายน 2561 เข้าถึงจาก https://mediawiki.middlebury.edu/wiki/MIDDMedia/Closure_in_comics
(20) คือ การเปลี่ยนที่ให้เหตุผลแบบรวบยอด โดยพาผู้อ่านผ่านระยะห่างทางเวลาและพื้นที่ ที่มีนัยสําาคัญ, อ้างถึงใน, สก๊อต แมคคลาวด์, Understanding Comics: The Invisible Art, แปลโดย ชัยยศ อิษฎ์วรพันธ และเมธาวี กิตติอาภรณ์พล (กรุงเทพฯ:คอร์เปอเรชั่นโฟร์ดี, 2559), 63.
(21) คือ การเปลี่ยนช่องที่เสนอตัวกระทําาเดียว กล่าวคือ ตัวละครเดิมปรากฏขึ้นทั่วช่อง แต่ด้วยการเปลี่ยนแบบแอ็คชั่นสู่แอ็คชั่นนี้ การกระทําาที่ต่างกันสองการกระทําาถูกทําาให้ลุล่วง, อ้างถึงใน, Mediawiki. Closure in comics. เข้าถึงเมื่อ 9 มิถุนายน 2561 เข้าถึงจาก https://mediawiki.middlebury.edu/wiki/MIDDMedia/Closure_in_comics
บรรณานุกรม
หนังสือ
Perry Willett, A Companion to the Literature of German Expressionism, Edited by Neil H. Donahue. Camden House is an imprint of Boydell & Brewer Inc, 2005.
สก๊อต แมคคลาวด์, Understanding Comics: The Invisible Art, พิมพ์ครั้งที่ 1, แปลโดย ชัยยศ อิษฎ์วรพันธุ์ และเมธาวี กิตติอาภรณ์พล. กรุงเทพฯ:คอร์เปอเรชั่น โฟร์ดี, 2559
สัญชัย สุวังบุตร และอนันต์ชัย เลาหะพันธุ,ยุโรป ค.ศ. 1815-1918 (EUROPE 1815-1918), พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:ศักดิโสภาการพิมพ์, 2558
บทความในวารสาร
David A. Berona, “Chronicles in Black and White : The Woodcut Novels of Masereel and Ward” Biblio, no.2 (1) : 38-39
_____________. “Wordless Novel in Noodcuts” Print Quarterly, 2001(March 2003) : 61-66
_____________. “The Art of the Woodcut Novel” Ijoca (Spring 2012) : 604.
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
Frans Masereel, David A. Berona (คําานําา), The Sun, The Idea & Story Without Words: Three Graphic Novels [Kindle]. Dover Publications, 2009.
MOMA GERMAN Expressionism. Printmaking Techniques. ข้าถึงเมื่อ 2 กันยายน 2561 เข้าถึงจาก https://www.moma.org/s/ge/curated_ge/techniques/index.html
MOMA learning. Expressionism. เข้าถึงเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2560 เข้าถึงจาก https://www.moma.org/learn/moma_learning/themes/expressionism
Comments