Artist: S's Art Lab
The D(e)aries First Solo Exhibition
นิทรรศการศิลปะ The D(e)aries เป็นโครงการศิลปะเชิงทดลองที่มุ่งเน้นในการสร้างความตระหนักรู้ถึงประเด็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะ โดยตัวนิทรรศการประกอบด้วยผลงานศิลปะ 2 ชุด ที่มีความต่อเนื่องกัน
ผลงานชุดแรก “The D(e)aries: บันทึกขยะประจำวันและเวลาที่มันย่อยสลาย” เป็นศิลปะเชิงจัดวางแบบมีส่วนร่วม ซึ่งเกิดขึ้นจากการตระหนักถึงพฤติกรรมการบริโภคของตัวศิลปินเอง ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในช่วงเวลาของการระบาด ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วยความจำเป็นในการใช้บริการสั่งซื้อและจัดส่งอาหาร เครื่องอุปโภคบริโภค และสินค้าออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้น จนก่อให้เกิดพลาสติกและกล่องลังจำนวนมาก ที่ลงเอยเป็นขยะเรียงรายในบ้านของตน ทำให้ศิลปินเริ่มให้ความสนใจกับการศึกษาปัญหาการจัดการขยะ The D(e)aries จึงได้ถือกำเนิดขึ้นจากการเป็นบันทึกประจำวันของจำนวนขยะที่เกิดขึ้นจากการอุปโภคบริโภคส่วนตัวของศิลปินเอง จนพัฒนาไปสู่การคัดแยกประเภทขยะ การศึกษาวิธีการกำจัดขยะที่เหมาะสม และการพิจารณาถึงระยะเวลาอันยาวนานหลายปีที่ใช้ในการย่อยสลายขยะที่เกิดขึ้นเพียงวันเดียวเหล่านี้ ศิลปินพยายามผลิตขยะใหม่ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
ในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยบอกเล่าบันทึกของขยะในชีวิตประจำวันผ่านการพิมพ์ภาพขยะจากเทคนิค cyanotype ซึ่งอาศัยเพียงรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดดธรรมชาติในการพิมพ์ภาพ ประกอบกับการจัดวางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นจากวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย
ผลงานศิลปะเชิงจัดวางแบบมีส่วนร่วมชุดที่ 2 “The Dairies (Part 2)” เป็นภาคต่อของงานชุดแรก “The D(e)aries: บันทึกขยะประจำวันและเวลาที่มันย่อยสลาย” นำเสนอการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคของผู้คนรอบตัวศิลปิน ผ่านการสร้างบันทึกของขยะที่เกิดขึ้นภายใน 1 วัน ผ่านการอุปโภคบริโภคของสมาชิกในครอบครัวของศิลปินเอง งานชุดนี้ประกอบด้วยภาพพิมพ์ขยะจากเทคนิค cyanotype และภาพจิตรกรรมขยะที่วาดลงบนวัสดุรีไซเคิล ซึ่งถูกสังเคราะห์ขึ้นจากเศษขยะที่หลงเหลือมาจากผลงานชุดแรก
เช่น กระดาษ หลอดพลาสติก และฝาขวด ผลงานชุดนี้เป็นเกมอย่างง่าย สำหรับให้ผู้เข้าชมได้มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนและประเภทของขยะ กับพฤติกรรมการบริโภคของเจ้าของขยะแต่ละคน
นิทรรศการศิลปะนี้มุ่งหวังให้ผู้เข้าชมตระหนักรู้ถึงจำนวนที่มากมายของขยะที่เกิดขึ้นจากการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน และระยะเวลาอันยาวนานกว่าที่ขยะเหล่านี้จะย่อยสลายหายไป อันนำไปสู่การสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับปัญหาอันเกี่ยวเนื่องกับการจัดการขยะ การรีไซเคิล การจำแนก และการกำจัดขยะอย่างเหมาะสม
The D(e)aries First Solo Exhibition
The D(e)aries Art Exhibition is an experimental art project aiming to raise awareness regarding issues of waste management. The exhibition consists of 2 consecutive interactive installations.
The first installation: “The D(e)aries: Artist’s Diary of Trash and (its) Decomposition” originated from the artist’s awareness of her consumer behavior changes induced by the COVID-19 outbreak. The increasing necessity to order a delivery service of food and goods, as well as online products, resulted in plastic and paper packages that trashed her house, started the artist’s interest in researching issues of waste management. Thus began the D(e)aries. Started as a daily quantity collection of the artist’s personal waste production, the project soon developed into study of waste classification and of proper elimination, and ultimately, a contemplation on the amount of years taken for these single-day waste to be decomposed completely. Cautiously, the artist tried not to generate excessive waste in creating the artworks, and decided to print her daily trash with a cyanotype photographic process which requires solely the natural ultraviolet light to produce a print, and integrated the printings with electronic installation built from an uncomplicated circuit
Secondly: “The Diaries (Part 2)” is the sequel of the previous work. This interactive installation explores the consumer behaviors of those surrounding the artist, as it accounts the waste generated within a day from the artist’s family members’ daily consumptions. The installation consists of cyanotype printings of the actual waste, along with paintings of the waste painted on recycling material that was the synthesized remains of the first project, i.e., papers, plastic straws, and bottle caps. This installation is a game that invites the audience to find the correlation between each type and amount of waste with the consumer behavior of the one who generated them.
The installation aspires to make the participating audience conscious of the quantity of waste generated through the daily consumption, and the amount of time it takes for these trash to completely break down. Ultimately, the project aims to generate proper understanding in waste management issues such as waste recycling, classification, and elimination.
Comments